วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

พะแนงเนื้อ


พะแนงเนื้อ

เครื่องปรุงเนื้อวัว ไก่ หมู ใช้ได้ทั้งนั้น มะพร้าว ถั่วลิสงป่น พริกแห้ง
ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม รากผักชี ลูกผักชี ยี่หร่า
กะปิ ผิวมะกรูด พริกไทย เกลือ น้ำตาล น้ำปลา
หอมดอง ใบโหระพา พริกหยวก
วิธีทำ
                หั่นเนื้อสัตว์ที่จะทำเอาไว้ คั้นหางกะทิเอาไปเคี่ยวกับเนื้อสัตว์ให้เปื่อย
โขลกน้ำพริกเสร็จ เอาไปผัดกับกะทิให้น้ำพริกสุกหอม แล้วเอาเนื้อสัตว์ลงผัดให้เข้ากันดี
โรยถั่วลิสงป่นลงไปด้วย ปรุงรสเค็มหวานตามชอบใจ ถ้าน้ำยังมาก ต้องเคี่ยวให้งวด
พอพริกขิงจับเนื้อสัตว์มีน้ำขลุกขลิก ตักใส่จาน เอาหอมดองเรียงลงไปรอบขอบจาน
วางใบโหระพาเป็นช่อ พริกหยวกล้างน้ำเอาเม็ดออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นขนาดคำ
วางลงไปด้วยเครื่องประกอบการกิน ทั้ง 3 อย่างนี้ เคี้ยวรวมไปพร้อมกับพะแนง จึงจะอร่อย

สูตรอาหารไทย : แกงมัสมั่นเนื้อ


*เนื้อวัว 400 กรัม (หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ)
* กะทิ 1/2 ถ้วยตวง
* น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
* เกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ
* หอมใหญ่ 2 ลูก (หั่นเป็นชิ้นขนาดกลาง)
* มันเทศ 1 ถ้วยตวง (ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ)
* น้ำมะขาม 1 ช้อนโต๊ะ
* อบเชย 1 แท่ง
* มะม่วงหิมพานต์ 1/4 ถ้วยตวง
* ลูกกระวาน 1 ช้อนชา
* ใบกระวาน 2 ใบ


วิธีทำทีละขั้นตอน
1. นำกะทิและน้ำพริกแกงมัสมั่นไปตั้งบนไฟอ่อน คนจนเครื่องแกงเริ่มแตกมัน (ประมาณ 5 นาที)
2. ใส่เนื้อวัวและคนต่อไปอีกสักพัก เติมน้ำลงไปพอท่วมเนื้อ
3. ใส่ส่วนผสมที่เหลือทั้งหมด ยกเว้นมัน, หอมใหญ่ และมะม่วงหิมพานต์ ตุ๋นด้วยไฟอ่อนต่อไปอีกประมาณ 40 นาที จนกระทั่งเนื้อนุ่ม
4. ใส่มัน, หอมใหญ่ และมะม่วงหิมพานต์ และตุ๋นต่อไปอีกประมาณ 30 นาที ระหว่างตุ๋นนี้ถ้าน้ำแห้งสามารถเติมน้ำลงไปได้ เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย และเสิรฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ หรือ แผ่นแป้งโรตี

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

บทกลอนเกี่ยวกับอาหารไทย

                

                          มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง  
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา

                 ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
 รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
     ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำสมโรยพริกไทย
 โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง ห่างหอหวนป่วยใจโหย
 ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
 รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
 น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์
ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น
ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
 เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ
รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม
 ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์
 ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน
 เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
 ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ใบโศกบอกโศรกครวญ ให้พี่เศร้าเจ้าดวงใจ
 ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน
ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนางฯ

ใบตอง

บรรจุภัณฑ์จากใบตอง
     ใบตองถือเป็นใบไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมายาวนาน จากการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวกับการกิน มีการใช้ใบตองประกอบกับอาหาร โดยใช้ห่ออาหารเพื่อปรุงให้สุกด้วยวิธีการปิ้ง ย่าง นึ่ง ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่าหรือเพื่อใช้ในการบรรจุอาหาร สำหรับรับประทานเป็นภูมิปัญญา ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ออกเป็น ๒ รูปแบบดังนี้
       ๑. รูปแบบการห่ออาหาร
            - การห่อสวม
            - การห่อทรงเตี้ย
            - การห่อทรงสูง
            - การห่อขนมเทียน
            - การห่อขนมเทียนสลัดงา
            - การห่อขนมกรวย
            - การห่อข้าต้มมัด
            - การห่อข้าวต้มน้ำวุ้น
            - การห่อข้าเหนียวปิ้ง ฯลฯ
       ๒. รูปแบบกระทงบรรจุอาหาร
            - กระทงมุมเดียว
            - กระทงมุมเดียวดุนก้น
            - กระทงสองมุมดุนก้น
            - กระทงสองมุมท้องแบน
            - กระทงสามมุม
            - กระทงสี่มุม
            - กระทงสี่มุมปากหยัก
            - กระทงห้ามุม
            - กระทงหกมุม
            - กระทงใบเตย

       ใบตองสำหรับการบรรจุภัณฑ์อาหาร
       ใบตองที่มีความเหมาะสมในการประดิษฐ์มากที่สุด คือ ใบตองกล้วยตานี ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
       ๑. มีความเหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ขาดง่าย
       ๒. มีความหนา และความบางพอเหมาะ
       ๓. มีสีเขียวสม่ำเสมอ
ใบตองกล้วยน้ำว้า มีความเปราะมาก และไม่เหนียวเหมือนใบตองตานี แต่สามารถนำมาใช้ในการห่ออาหาร หรือทำกระทงเพื่อบรรจุอาหารได้เหมือนกัน
       วิธีการตัดใบตอง
       ๑. เลือกใบตองที่มีสีเขียวแก่ มีลักษณะสมบูรณ์ อายุปานกลาง
       ๒. เลือกตัดใบตองตอนสายๆ แดดอ่อนๆ ใบตองจะนุ่มดี
       ๓. เลือกตัดใบตองให้เหลือหูใบตอง (ส่วนใบที่โคนก้าน)
       วิธีเช็ดใบตอง
       ๑. เฉือนใบตองออกจากก้านเป็นแผ่นให้มีขนาดจับได้ถนัดมือ
       ๒. เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือผ้าแห้ง
       วิธีฉีกใบตอง
       - วัดขนาดใบตองช่วงกลางของทางใบตอง
       - ใช้เข็มหมุดหรือเล็บจิกใบตองให้ขาดจากกัน
       วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์จากใบตอง
       วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ใบตองนั้น หาได้ไม่ยาก เป็นวัสดุที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ซึ่งมีดังต่อไปนี้
       ๑. กรรไกร ใช้สำหรับตัดใบตอง
       ๒. เข็มมือ ใช้สำหรับเย็บใบตอง
       ๓. เข็มหมุด ใช้สำหรับกลัดใบตองเพื่อกำหนดระยะ
       ๔. ไม้กลัด ใช้สำหรับกลัดใบตอง
       ๕. ด้าย ใช้สำหรับเย็บใบตอง
       ๖. ไม้บรรทัด ใช้สำหรับวัดขนาดของใบตอง
       ๗. ผ้าขาวบาง ใช้สำหรับห่อคลุมใบตองให้สดสวยคงรูป ผ้าเนื้อนุ่ม ใช้สำหรับเช็ดใบตอง
       ๘. เขียง ใช้สำหรับรองเวลาตัดใบตอง
       ๙. มีด ใช้สำหรับกรีดตัดใบตอง

การแกะสลักผักและผลไม้

ความเป็นมาของการแกะสลัก
     การแกะสลักผักและผลไม้เริ่มปรากฎในวังมาก่อนตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎร่องรอยตามพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เช่น  กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน  กาพย์เห่ชมผลไม้   บทละครเรื่องสังข์ทอง  เป็นต้น
    
การแกะสลักผักและผลไม้  บางทีเรียกว่า การทำเครื่องสด  เป็นงานที่ต้องอาศัยความประณีต อดทน และละเอียดอ่อนในการทำ เป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยโบราณ  จัดเป็นศิลปะประจำชาติซึ่งควรค่าแก่การส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้และมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ  ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์งานแขนงนี้สืบไป

วิธีการแกะสลัก

อันดับแรกเรามาลองแกะแตงโมดู ลูกนี้ซื้อมา 15 บาทค่ะ ต้องเลือกสดๆหน่อย
เริ่มต้นจากการปอกเปลือกสีเขียวแข็งออกก่อน 2 ใน3 ของลูกนะดูภาพประกอบ แล้วเกลาให้เรียบ จากนั้นเริ่มทำตามวิดิโอเลย



วิธีการแกะแตงโม




















อุปกรณ์การแกะสลัก

1. มีดบางใช้ปอก เกลา ปาดผลไม้เพื่อเตรียมแกะสลัก
2.
มีดแกะสลักหรือมีดคว้านปลายแหลมเรียวเล็ก คมบาง ใช้สำหรับคว้านแกะสลักเซาะ
ให้เป็นร่อง

3.หินลับมีดหรือกระดาษทรายละเอียดใช้สำหรับลับมีดเพื่องานแกะสลัก
4.ผ้าเช็ดมือ และผ้ากันเปื้อน

ขนมไทย

ลูกชุบ
















ส่วนผสม




ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 1/3 ถ้วยตวงน้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวงหัวกะทิ 2 ถ้วยตวงวุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะน้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง


วิธีทำ
    แช่ถั่วเขียวประมาณ 1-2 ชั่วโมง นึ่งให้สุกนุ่ม แล้วบดให้ละเอียด หัวกะทิตั้งไฟอ่อนๆ ใส่นำตาลทรายลงเคี่ยวให้นำตาลละลายหมด ใส่ถั่วลงกวนกับกะทิตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แห้งจนถั่วล่อนออกจากกระทะ เทถั่วที่กวนได้ที่แล้วลงในถาดหรือชามพักไว้ให้เย็น ปั้นถั่วเป็นรูปผลไม้เล็กๆ ตามต้องการ แล้วระบายสีผลไม้ที่ปั้นไว้ให้เหมือนจริงพักไวให้สีแห้ง
            ผสมผงวุ้นกับน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลายหมดยกลง วางพักไว้สักครู่ นำผลไม้ที่ระบายสีไว้ ชุบวุ้นให้ทั่ว พักไว้ให้แห้งแล้วชุบอีก 2 ครั้ง ปล่อยให้แห้งจึงนำไปตกแต่งให้สวยงาม


มะพร้าวแก้ว







ส่วนผสม

มะพร้าวทึนทึก ขูดฝอย 3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
น้ำดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/8 ช้อนชา


วิธีทำ

    ใส่น้ำตาลทรายลงในกระทะทองใส่น้ำลอยดอกไม้ ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยว จนน้ำตาลละลายและเหนียวใสเป็นยางมะตูม ใส่มะพร้าวที่ขูดไว้แล้วลงในน้ำเชื่อมที่เคี่ยวไว้ คนให้นำตาลจับเส้นมะพร้าวให้ทั่ว เคี่ยวจนนำเชื่อมแห้งยกลงจากเตา ตักมะพร้าวให้เป็นก้อนกลม วางลงบนถาดแล้วผึ่งให้แห้ง เก็บใส่ขวดโหล สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน

หมายเหตุ

    ถ้าต้องการให้ขนมมีหลายสีก็เติมสีลงในนำเชื่อมก่อนใส่มะพร้าวลงคลุก ถ้าใช้มะพร้าวอ่อนควรเพิ่มปริมาณน้ำตาลให้มากขึ้นกว่าการใช้มะพร้าวแก่

ทองเอก





ส่วนผสม


ไข่เป็ด 5 ฟอง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ 5 ฟอง
แป้งสาลี 1 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1 1/4 ถ้วยตวง



วิธีทำ

            ต่อยไข่แยกไข่ขาวออกไข่แดงใส่ชามปิดฝาไว้อย่าให้ถูกลม
หัวกระทิผสมน้ำตาลทรายตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวให้เป็นยางมะตูมยกลงจากเตา
ใส่ไข่แดงที่แยกไว้ลงในหัวกระทิที่เคี่ยวไว้คนเร็วๆ ให้เข้ากัน ใส่แป้งลงคนต่อให้เข้ากัน แล้วยกขึ้นกวนด้วยไฟอ่อนๆ จนไข่สุกและแป้งล่อนออกจากกระทะ ยกลงตัดขนมเป็นก้อนกลม แตะทองคำเปลวชิ้นเล็กๆ แล้วถดลงในพิมพ์ไว้ให้แน่น แล้วเคาะออก เรียงใส่ภาชนะ

ข้าวเหนียวแดง






ส่วนผสม

ข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง
น้ำตาลปีบ 2 ถ้วยตวง





วิธีทำ
    นึ่งข้าวเหนียวให้สุก แล้วเทออกใส่ถาดเกลี่ยให้กระจายตัว ผึ่งลมให้แห้ง หัวกะทิใส่ในกระทะตั้งไฟเคี่ยวให้เดือดใส่น้ำตาลปีบลงเคี่ยวให้เป็น ยางมะตูม ใส่ข้าวเหนียวที่ผึ่งไว้ลงในกระทะทอง กวนต่อจนข้าวเหนียวเริ่มเกาะตัวเป็นก้อน แล้วล่อนออกจากกระทะยกลง ตัดข้าวเหนียวใส่ถาดหรือภาชนะที่เตรียมไว้ตกแต่งให้สวยงาม


ขนมกรวย



ส่วนผสม




แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
แป้งถั่วเขียว 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปึก 3/4 ถ้วยตวง
น้ำ 1 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา


วิธีทำ
    ผสมแป้งข้าวเจ้ากับแป้งถั่วเขียวให้เข้ากันเติมน้ำทีละน้อย นวดให้เข้ากันแล้วเติมน้ำตาลปึกลงไปแล้วนวดต่อ จนน้ำตาลและแป้งเข้ากันดีแล้วเติมน้ำลงไปให้หมดคนให้เข้ากัน
    ใส่แป้งข้าวเจ้าเกลือป่นลงไปในหัวกะทิ คนให้เข้ากัน
    หยอดส่วนผสมข้อ 1 ลงในกรวยใบตองที่เตรียมไว้ แล้วหยอดส่วนผสมข้อ 2 ลงไปประมาณ 3/4 ของกรวย เสียบกรวยลงในรูของรังถึง โดยเว้นที่ไว้ให้มีช่องว่างให้ไอน้ำขึ้นด้วยนึ่งในน้ำเดือดให้แป้งสุกแล้วพักไว้ให้เย็นจึงจัดใส่ภาชนะ

     

ขนมต้ม





ส่วนผสม


แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
น้ำ 1/2 ถ้วยตวง
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลปีบ 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  มะพร้าวขูดเป็นเส้น 2 ถ้วยตวง





วิธีทำ

          ผสมแป้งท้าวยายม่อมแป้งข้าวเหนียวเข้าด้วยกันค่อยๆ เติมน้ำเปล่าทีละน้อย นวดจนแป้งนุ่มปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. ผสมน้ำตาลปีบฝอยน้ำเป่า 2 ช้อนโต๊ะ ในกระทะทองตั้งไฟกวนให้เหนียวสำหรับเป็นไส้ แล้วปั้นเป็นก้อนกลม แผ่แป้งที่ปั้นไว้เป็ยแผ่นแบนวางไส้ลงตรงกลางแล้วหุ้มไส้ให้มิด ใส่น้ำในหม้อตั้งไฟให้เดือด ใส่ขนมต้มลง เมื่อขนมสุกลอยตัวขึ้นตักขนมใส่น้ำเย็นแล้วสะบัดให้ สะเด็ดน้ำ มะพร้าวผสมเกลือป่นคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วใส่ขนมคลุกลงกับมะพร้าวให้ทั้วจัดใส่จาน

เผือกกวน



ส่วนผสม



เผือกดิบ 500 กรัม
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลปึก 1/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา


วิธีทำ




          ล้างเผือกให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นขนาดพอเหมาะ แล้วนึ่งสุก
ลอกเปลือกเผือกออกให้หมด แล้วบดหรือยีให้ละเอียด แบ่งหัวกะทิเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งผสมน้ำตาลทราย น้ำตาลปึกเกลือป่นลงในกระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ ใส่เผือกที่บดไว้ ลงกวนในกระทะทอง กวนจนกะทิลดลงค่อยๆ เติมหัวกะทิส่วนที่เหลือกวนต่อไปจนหัวกะทิหมด และเผือกกวนแห้งขนาดพอปั้นได้ยกลง ปั้นหรือใส่พิมพ์ตามต้องการ






ขนมนางเล็ด

















ส่วนผสม



ข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลปึก 1 ถ้วยตวง
น้ำมันพืช 2 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง











วิธีทำ
                        ซาวข้าวเหนียวให้สะอาดแล้วแช่น้ำพักไว้ 1 คืน นึ่งข้าวเหนียวให้สุก แล้วตักข้าวเหนียวลงในพิมพ์กดเบาๆ ให้ข้าวเหนียวเป็นแผ่นบางๆใส่ถาดตากแดดให้แห้งสนิท น้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อนใส่ข้าวที่ตากแดดแล้วลงทอดให้พองกรอบ แล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมันซับน้ำมันให้แห้งแล้วพักไว้ให้เย็น เก็บใส่ภาชนะไม่ให้ถูกลม เคี่ยวน้ำตาลปึกกับน้ำจนน้ำตาลละลายเคี่ยวให้ข้นจนเป็นยางมะตูม ยกลงจากเตา ตักน้ำที่เคี่ยวบนแผ่นข้าวที่ทอดไว้เป็นวงให้สวยงาม ผึ่งให้เย็นเก็บใส่ภาชนะปิดฝาไม่ให้ถูกลม