บรรจุภัณฑ์จากใบตอง
ใบตองถือเป็นใบไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมายาวนาน จากการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวกับการกิน มีการใช้ใบตองประกอบกับอาหาร โดยใช้ห่ออาหารเพื่อปรุงให้สุกด้วยวิธีการปิ้ง ย่าง นึ่ง ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่าหรือเพื่อใช้ในการบรรจุอาหาร สำหรับรับประทานเป็นภูมิปัญญา ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ออกเป็น ๒ รูปแบบดังนี้
๑. รูปแบบการห่ออาหาร
- การห่อสวม
- การห่อทรงเตี้ย
- การห่อทรงสูง
- การห่อขนมเทียน
- การห่อขนมเทียนสลัดงา
- การห่อขนมกรวย
- การห่อข้าต้มมัด
- การห่อข้าวต้มน้ำวุ้น
- การห่อข้าเหนียวปิ้ง ฯลฯ
๒. รูปแบบกระทงบรรจุอาหาร
- กระทงมุมเดียว
- กระทงมุมเดียวดุนก้น
- กระทงสองมุมดุนก้น
- กระทงสองมุมท้องแบน
- กระทงสามมุม
- กระทงสี่มุม
- กระทงสี่มุมปากหยัก
- กระทงห้ามุม
- กระทงหกมุม
- กระทงใบเตย
ใบตองสำหรับการบรรจุภัณฑ์อาหาร
ใบตองที่มีความเหมาะสมในการประดิษฐ์มากที่สุด คือ ใบตองกล้วยตานี ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๑. มีความเหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ขาดง่าย
๒. มีความหนา และความบางพอเหมาะ
๓. มีสีเขียวสม่ำเสมอ
ใบตองกล้วยน้ำว้า มีความเปราะมาก และไม่เหนียวเหมือนใบตองตานี แต่สามารถนำมาใช้ในการห่ออาหาร หรือทำกระทงเพื่อบรรจุอาหารได้เหมือนกัน
๑. รูปแบบการห่ออาหาร
- การห่อสวม
- การห่อทรงเตี้ย
- การห่อทรงสูง
- การห่อขนมเทียน
- การห่อขนมเทียนสลัดงา
- การห่อขนมกรวย
- การห่อข้าต้มมัด
- การห่อข้าวต้มน้ำวุ้น
- การห่อข้าเหนียวปิ้ง ฯลฯ
๒. รูปแบบกระทงบรรจุอาหาร
- กระทงมุมเดียว
- กระทงมุมเดียวดุนก้น
- กระทงสองมุมดุนก้น
- กระทงสองมุมท้องแบน
- กระทงสามมุม
- กระทงสี่มุม
- กระทงสี่มุมปากหยัก
- กระทงห้ามุม
- กระทงหกมุม
- กระทงใบเตย
ใบตองสำหรับการบรรจุภัณฑ์อาหาร
ใบตองที่มีความเหมาะสมในการประดิษฐ์มากที่สุด คือ ใบตองกล้วยตานี ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๑. มีความเหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ขาดง่าย
๒. มีความหนา และความบางพอเหมาะ
๓. มีสีเขียวสม่ำเสมอ
ใบตองกล้วยน้ำว้า มีความเปราะมาก และไม่เหนียวเหมือนใบตองตานี แต่สามารถนำมาใช้ในการห่ออาหาร หรือทำกระทงเพื่อบรรจุอาหารได้เหมือนกัน
วิธีการตัดใบตอง
๑. เลือกใบตองที่มีสีเขียวแก่ มีลักษณะสมบูรณ์ อายุปานกลาง
๒. เลือกตัดใบตองตอนสายๆ แดดอ่อนๆ ใบตองจะนุ่มดี
๓. เลือกตัดใบตองให้เหลือหูใบตอง (ส่วนใบที่โคนก้าน)
วิธีเช็ดใบตอง
๑. เฉือนใบตองออกจากก้านเป็นแผ่นให้มีขนาดจับได้ถนัดมือ
๒. เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือผ้าแห้ง
วิธีฉีกใบตอง
- วัดขนาดใบตองช่วงกลางของทางใบตอง
- ใช้เข็มหมุดหรือเล็บจิกใบตองให้ขาดจากกัน
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์จากใบตอง๑. เลือกใบตองที่มีสีเขียวแก่ มีลักษณะสมบูรณ์ อายุปานกลาง
๒. เลือกตัดใบตองตอนสายๆ แดดอ่อนๆ ใบตองจะนุ่มดี
๓. เลือกตัดใบตองให้เหลือหูใบตอง (ส่วนใบที่โคนก้าน)
วิธีเช็ดใบตอง
๑. เฉือนใบตองออกจากก้านเป็นแผ่นให้มีขนาดจับได้ถนัดมือ
๒. เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือผ้าแห้ง
วิธีฉีกใบตอง
- วัดขนาดใบตองช่วงกลางของทางใบตอง
- ใช้เข็มหมุดหรือเล็บจิกใบตองให้ขาดจากกัน
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ใบตองนั้น หาได้ไม่ยาก เป็นวัสดุที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ซึ่งมีดังต่อไปนี้
๑. กรรไกร ใช้สำหรับตัดใบตอง
๒. เข็มมือ ใช้สำหรับเย็บใบตอง
๓. เข็มหมุด ใช้สำหรับกลัดใบตองเพื่อกำหนดระยะ
๔. ไม้กลัด ใช้สำหรับกลัดใบตอง
๕. ด้าย ใช้สำหรับเย็บใบตอง
๖. ไม้บรรทัด ใช้สำหรับวัดขนาดของใบตอง
๗. ผ้าขาวบาง ใช้สำหรับห่อคลุมใบตองให้สดสวยคงรูป ผ้าเนื้อนุ่ม ใช้สำหรับเช็ดใบตอง
๘. เขียง ใช้สำหรับรองเวลาตัดใบตอง
๙. มีด ใช้สำหรับกรีดตัดใบตอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น